เงาตะกอนในน้ำวุ้นตา
เงาดำเล็กๆ หรือหยากไย่ที่เห็นลอยไปมา เราเรียกว่า เงาตะกอนในน้ำวุ้นตา จะเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อมีแสงสว่างเข้าตามาก เช่นมองพื้นขาวหรือท้องฟ้าใสและเงาดำจะลางไปเมื่อแสงเข้าตาน้อย เช่น ขณะอยู่ในที่ร่ม หรือในบ้าน เป็นต้น เงาดำดังกล่าวนี้ เกิดจากการตกตะกอนของน้ำวุ้นภายในลูกตา ซึ่งอยู่หน้าจอประสาทตาที่ทำหน้าที่รับภาพดังนั้น เมื่อแสงเข้าสู่ตา ตะกอนในน้ำวุ้นจะบังแสงทำให้เกิดเงาดำทอดลงบนจอประสาทตาเมื่อกรอกตาไปมา ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของน้ำวุ้นภายในตา ตะกอนก็จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย จึงทำให้เราเห็นเงาดำลอยเปลี่ยนตำแหน่งได้ รูปร่างของเงาดำที่เห็น มีลักษณะต่างๆ กัน ตามรูปร่างของตะกอนในน้ำวุ้น เช่นอาจเห็นเป็นจุดวงแหวนหรือหยากไย่คล้ายใยแมงมุม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ไม่มีอันตราย เพียงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของตาเมื่ออายุมากขึ้นน้ำวุ้นตาจะตกตะกอนผู้ที่มีสายตาสั้นหรือหลังลอกต้อกระจกจะพบปรากฏการณ์นี้บ่อยกว่าคนปกติทั่วไป
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก อายุที่มากขึ้น หรือการมีสายตาที่สั้นมากๆ หรือโดนกระแทกศีรษะ บริเวณตา ทำให้น้ำวุ้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว (ปกติในลูกตาจะมีน้ำวุ้นเหมือนเยลลี่บรรจุอยู่เต็ม ไม่เคลื่อนไหว) และตกตะกอนเงาตะกอนอาจใส หรือเป็นสีเทา ลอยไปลอยมาเมื่อกรอกตา
วิธีการรักษา ปัจจุบันยังไม่มียาที่จะรักษาให้ตะกอนน้ำวุ้นตาละลายไปได้ แต่ให้เข้าใจว่า ตามธรรมชาติของน้ำวุ้นในตานั้นไม่มีอันตรายใดๆ ต่อตา ไม่มีผลที่จะทำให้สายตามัวลง และทั่วไปจะไม่เป็นมากขึ้น นอกจากจะทำให้รำคาญ และวิตกกังวลเท่านั้น
อาการของตะกอนน้ำวุ้นที่มีอันตราย บางรายที่น้ำวุ้นในตาเริ่มหดตัว โดยตกตะกอนมากขึ้น อาจแยกออกจากจอประสาทตา จนไปดึงรั้งจอประสาทตาให้ฉึกขาดได้ และถ้าตำแหน่งที่ฉึกขาดตรงกับเส้นเลือกที่จอตา เลือดก็จะไหลเข้ามาในวุ้นตา ทำให้เห็นเงาดำจุดเล็กๆ จำนวนมาก ในกรณีนี้อันตรายมาก จนบางครั้งอาจเห็นไฟแลบเป็นรูปโค้งๆ ได้ (เหมือนถูกถ่ายรูปด้วยแฟลช) มักเห็นตอนมืด ขณะกลอกตาไปทางใดทางหนึ่ง อาการแบบนี้ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที
|